วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สร้าง Online E-Book ด้วย eXe editor

สร้าง Online E-Book ด้วย eXe editor
แนะนำโปรแกรม
      eXe ย่อมาจาก elearning XHTML editor หรือ eXe editor โปรแกรม eXe ได้รับการพัฒนาจาก The Auckland University of Technology และ Tairawhiti Polytechnic โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Tertiary Education Commission of New Zealand ซึ่งมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลกร่วมกันพัฒนาภายใต้โครงการ The eXe project โครงการ The eXe project เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2004 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้เทคโนโลยีของการออกแบบและการตีพิมพ์เว็บไซต์ มาใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งผลการศึกษาของโครงการ พบว่า ในปัจจุบันมีเครื่องมือส าหรับการพัฒนาเว็บไซต์ (web authoring tools) อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ใช้งานยาก และต้องอาศัยทักษะรวมถึงความเข้าใจในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถใช้งานได้ ในขณะที่ครู อาจารย์ นักวิชาการและนักการศึกษามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาสื่อออนไลน์ เพื่อหวังผลให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ทำให้โครงการนี้สร้างเครื่องมือที่ใช้งานง่าย และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างระบบการเรียนการสอนออนไลน์

        eXe editor ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ The eXe project ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีของการออกแบบและการตีพิมพ์เว็บไซต์ มาใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต เดิมทีจากผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ (web authoring tools) อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าใช้งานยาก และต้องอาศัยทักษะรวมถึงความเข้าใจในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถใช้งานได้ ทาง ในขณะที่บรรดาครู อาจารย์ นักวิชาการและนักการศึกษา มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องพัฒนาสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะเอกสารเว็บต่างๆ ที่ได้มาตรฐานมืออาชีพ เพื่อหวังผลให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน โครงการ The eXe project จึงเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2004 โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก Tertiary Education Commission of New Zealand

         โครงการ The eXe project มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสร้างเครื่องมือที่ใช้งานง่าย และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างระบบการเรียนการสอนออนไลน์ The eXe project ใช้เทคโนโลยีภาษาคอมพิวเตอร์ Pythonโดยมีพื้นฐานการพัฒนาบนโปรแกรม web browser Firefox ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์เสรี (open source) เครื่องมือสำคัญของโปรแกรมนี้เรียกว่า 'instructional devices' หรือ iDevices ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างแบบฟอร์มรูปแบบต่างๆ ใน e-book เช่น ชุดคำสั่งต่างๆของผู้สอน


การพัฒนาการสอนผ่านเว็บและองค์ประกอบสำคัญ



ขั้นตอนของการออกแบบและพัฒนาการสอนผ่านเว็บ ผังงาน



1.    ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis)
ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1.1   การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป
1.2   การวิเคราะห์ผู้เรียน
1.3   การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.4   การวิเคราะห์เนื้อหา

เทคโนโลยี Augmented Reality

Augmented Reality
เมื่อเอาสองคำมารวมกันแล้วความหมายก็ค่อนข้างตรงตัว นั่นก็คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดการกลมกลืนกันมากที่สุดจนแยก ไม่ออก เช่น เราอาจจะมีถ่ายวิดีโอฉากใดฉากหนึ่งมา แล้วทำการสร้างรูปกราฟิกภาพ 3 มิติผสมลงไปในฉากวิดีโอที่เราถ่ายมาให้ดูเสมือนกับว่าภาพ 3 มิตินี้เป็นส่วนหนึ่ง ของวิดีโอจริงๆ เทคโนโลยีการผสมผสานกันนี้แหละครับที่เราเรียกว่า โลกเสมือนผสานโลกจริง

เทคโนโลยี Augmented Reality หรือ AR คือ

เทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือนโดนผ่านทางอุปกรณ์ต่างๆ อย่างกล้องถ่ายภาพ เข็มทิศ และ GPS จุดเริ่มต้นของ AR คือ ทีวี ผลการแข่งขันระหว่างนัด หรือ News ticker ด้านล่างจอของ CNN คือรูปแบบที่ง่ายที่สุดในการอธิบายความเป็นAugmented reality มันทำให้ข้อมูลที่ไม่สามารถอธิบายได้บนรูปภาพเกิดขึ้นในโลกจริง สิ่งสำคัญของ AR คือ ลักษณะของสมาร์ทโฟนได้เปลี่ยนการติดต่อสื่อสารครั้งใหญ่ คือ เราอ่านอีเมลระหว่างเดินทาง, ใช้เฟซบุ๊ก และ Location-based services (เช่น Foursqaure) การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เหล่านี้ ทำให้เกิดขอบเขตใหม่ของ Augmented reality เราไม่สามารถนำทีวี หรือพีซีไปได้ทุกที อย่างน้อยต้องเป็นอุปกรณ์ที่พกพาสะดวกอย่าง สมาร์ทโฟน ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธที่จะสนใจสิ่งรอบข้างบนโลกนี้ได้โดยผ่านุปกรณ์เหล่านี้

โดยปกติแล้ว AR มักพบบนสมาร์ทโฟน มากกว่าพีซี และสมาร์ทโฟนมักอยู่ที่มือและมีกล้องติดมาด้วยเสมอ ซึ่งกล้องนี้เปรียบเสมือนดวงตาที่ทำให้เรามองเห็นโลกทั้งใบ เราไม่สามารถถ่ายทอดข้อมูลผ่านจอประสาทตาได้ แต่เราสามารถใช้จอของสมาร์ทโฟนได้

ในไม่ช้า เราอาจเห็นแว่นตาที่มองเห็นข้อมูลต่างๆ รอบตัวก็เป็นได้ สื่อกระบวนทัศน์จะช่วยให้ AR มีประโยชน์มากกว่าธรรมชาติ ซึ่งทุกวันนี้การค้าขายโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ถูกตัดสินด้วยคำว่า “Smart” นั่นคือความฉลาดนั่นเอง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟนจะพลาดตัวเลือกสำคัญที่ใช้ในการช้อปปิ้ง กล่าวคือโทรศัพท์คือหนึ่งในอุปกรณ์ส่วนตัวที่ยากในเชิงการตลาด คือ Augmented Reality นำเสนอข้อมูล ความบันเทิง และความรู้ได้พร้อมๆ กัน


งานเทศกาลนานาชาติฮาลาลชายแดนใต้



งานเทศกาลนานาชาติฮาลาลชายแดนใต้ 

Southern Border Halal International Fair (SHIF 2015)

สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเทศกาลนานาชาติฮาลาลชายแดนใต้ หรือ Southern Border Halal International Fair (SHIF 2015) เพื่อสร้างมิติใหม่ด้านฮาลาลประเทศไทยระดับอาเซียนและนานาชาติ

วันนี้ (8ก.ย.58) ที่ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดร.พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลนานาชาติฮาลาลชายแดนใต้ หรือ Southern Border Halal International Fair (SHIF 2015) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา กล่าวต้อนรับ มี นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี กล่าวดุอาร์ และพลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าส่วนราชการ อิหม่าม และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ในวันที่ 3 ธันวาคม 2558 จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้แก้ปัญหาภายในประเทศไปแล้วนั้น ประเทศไทยยังคงประสบปัญหาด้านการปกครอง ฉะนั้นการแก้ไขปัญหาก็ควรไปเน้นเรื่องการปกครอง คือ การเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกระบวนการ โดยต้องถอยคนละก้าว ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และคาดว่าการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความสันติสุข และสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้






วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

สัมมนาและอบรมปฏิบัติการเรื่อง Multimedia

สัมมนาและอบรมปฏิบัติการเรื่อง Multimedia เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การพูด อ่าน เขียน




Multimedia คืออะไร
    มัลติมีเดีย คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation)เสียง (Sound)  และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  (Interactive Multimedia)  การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse)หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้ สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นทักษะการคิด
ทักษะการคิด  หมายถึง  ความสามารถในการคิดในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการคิดที่สลับซับซ้อน  ทักษะการคิดอาจจัดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทคือ
การพูด
ทักษะการอ่าน
การอ่าน คือ การรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึงการการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สัญลักษณ์จราจร เครื่องหมายที่แสดงบนแผนที่ เป็นต้น การรับรู้ข้อความ เข้าใจเรื่องราว หรือได้รับรสความบันเทิงใจตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนเป็นการอ่านที่ดีและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง


      1.ทักษะพื้นฐาน (basic skills)  ได้แก่  ทักษะการสื่อความหมาย (communication skills)
ทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป (core or general thinking skills)
       2.ทักษะการคิดขั้นสูง  หรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน (higher order or more complexed   thinking skills)
ทักษะพื้นฐาน (basic skills)  หมายถึง  ทักษะการคิดที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นต่อการคิดในระดับที่สูงขึ้นหรือซับซ้อน  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทักษะการสื่อความหมายที่บุคคลทุกคนจำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารความคิดของตน
    การพูด  หมายถึง  การติดต่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์โดยใช้เสียง ภาษา แววตา สีหน้าท่าทางต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดจากผู้พูดไปยังผู้ฟังให้เป็นที่เข้าใจกัน

การใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 Workshop แผนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานบูรณาการไอซีที

การใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Workshop แผนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานบูรณาการไอซีที
งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  วันที่ 17-18 สิงหาคม 2558



Digital Citizen


21st century skills


ครูในศตวรรษที่ 21


Social Media


Internet of Things



เทคนิคการสอนโดยใช้ไอซีทีเป็นฐาน


  • ไอซีทีเป็นสื่อเสริมการสอนของครู สาหรับเวลาที่ผู้เรียนทากิจกรรมนอกชั้นเรียน •ไอซีทีเป็นสื่อในการค้นคว้าข้อมูลในเนื้อหาเพิ่มเติม ช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ถูกต้องครบถ้วน •ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของครูกับผู้เรียน เมื่อไปฝึกงาน ทากิจกรรมต่าง ๆ
  • ไอซีทีเป็นนวัตกรรมที่สอดคล้องกับยุคสมัยของผู้เรียนในยุคดิจิทัล


การสอนแบบ MIAP
  • MIAP /KMUTNB
  • Motivation
  • Information
  • Application
  • Progress


การเรียนรู้แบบกลับทาง
  • วิธีเรียนรู้แบบกลับทาง คือเรียนวิชาที่บ้าน ทาการบ้านที่โรงเรียน หรือรับถ่ายทอดความรู้ที่บ้าน แล้วมาสร้างความรู้ต่อยอดจากวิชาที่รับถ่ายทอดมา ให้เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับชีวิต ทาให้เกิดการเรียนรู้ ที่มีพลัง เกิดทักษะ ที่เรียกว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ไม่ใช่นักเรียนเท่านั้นที่เรียนรู้กลับทาง ครูก็สอนกลับทางด้วย (วิจารณ์ พานิช, 2555)


การเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
การเรียนแบบผสมผสาน




ขั้นตอนการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม
  • การจินตนาการ (Imagine)
  • การออกแบบ (Design)
  • การพัฒนา (Develop)
  • การนาเสนอ (Present)
  • การปรับปรุง (Improvement)
  • การประเมินผล (Evaluate)